รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
บทคัดย่อ | |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นครอุทิศ” ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ หลังจากเรียนด้วยการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ กลุ่มตัวอย่างที่จะศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 จำนวนนักเรียน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 1 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองเป็นการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ใช้เวลาในการทดลอง 18 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาประสิทธิภาพของการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนใช้การทดลองค่าสถิติ t-test และความพึงพอใจของนักเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ชุด การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัย One-Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีค่าเท่ากับ 83.42/83.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมโดยใช้สถิติ t-test Dependent โดยหลังทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนมีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.23 อยู่ในระดับพอใจมาก |
|
คำสำคัญ | |
พัฒนาการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม,หนังสืออ่านเพิ่มเติม,คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ,ความพึงพอใจ,กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม | |
คำนำ | |
เนื่องจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข
จากการเรียนปกติ บางครั้งนักเรียนเบื่อหน่ายด้วยเพราะอาศัยการพูดของครูผู้สอนอย่างเดียวไม่ได้ การให้นักเรียนได้มีหนังสืออ่านเพิ่มเติม เหมาะกับวัยและมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ตลอดจนทำให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นครอุทิศ” เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา มีนักเรียนซึ่งอยู่ในวัยที่ต้องเรียนรู้และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม เพราะบางครั้งมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมดังนั้นการเรียนด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมจะเป็นเครื่องมือปลูกฝังให้นักเรียนซึมซับเอาสิ่งที่ดีงามไปปฏิบัติ จากสาเหตุแนวคิดที่กล่าวมานี้ ผู้รายงานซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นครูประจำชั้น และครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จึงคิดสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการขึ้น โดยการศึกษาค้นคว้าจากผู้รู้ ตำรา จากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนคุณธรรม ในเรื่องคุณธรรมพื้นฐาน เพื่อนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีพฤติกรรมและมีมารยาทที่ดีงามเหมาะสมกับวัย |
|
การวิเคราะห์ข้อมูล | |
1) หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. 2) การวิเคราะห์ความสอดคล้องของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( หาความตรงเชิงเนื้อหา ) 3) วิเคราะห์ความยากง่าย (p) และอำนาจจำแนก (r) ของข้อสอบตามวิธีการของ บุญชม ศรีสะอาด โดยใช้เทคนิค 27% 4) วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามเกณฑ์ 80 /80 5) เปรียบเทียบคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t – test แบบ Dependent Samples 6) วิเคราะห์หาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 7) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการโดยการสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกการเรียนรู้ที่แสดงถึงผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้น 8 ประการ |
|
สรุปผล | |
1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 มีประสิทธิภาพ 83.42/83.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 ภายหลังได้รับการเรียนรู้ด้วย หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ สูงกว่าก่อนได้รับการเรียนรู้ด้วย หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 มีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม อยู่ในระดับพึงพอใจมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.23 |
|
อภิปรายผล | |
อภิปรายผลการศึกษาได้ดังนี้ หนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.42/83.83 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 7 ภายหลังได้รับการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ สูงกว่าก่อนได้รับการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05และมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.23 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ มีกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ ความสนุกสนานได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มีการช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบคำตอบและความก้าวหน้าของตนเองได้ นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองมีการเสริมแรงให้กับนักเรียน เช่น การชมเชย นักเรียนที่ค้นหาคำตอบได้และทำคะแนนได้สูงสุด เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนอยากรู้มากขึ้น จึงส่งผลให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ไสว คุณโน (2546 : บทคัดย่อ)ได้ศึกษาพัฒนาแผนการสอนโดยใช้หนังสือการ์ตูนสีประกอบการสอนเรื่อง ความอดทน ความซื่อสัตย์สุจริต และความมีสัมมาคารวะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่สอนด้วยแผนการสอนโดยใช้หนังสือการ์ตูนสีประกอบการสอน มีประสิทธิผลทางการเรียนเท่ากับ 0.49 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ49 ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือภาพการ์ตูนสีประกอบการสอนอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชำนาญ ช่วยชอบ (2549 : บทคัดย่อ) ได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องกฎแห่งกรรม และพระพุทธศาสนสุภาษิตวิชาพระพุทธศาสนาระหว่างการสอนด้วยนิทานประกอบการ์ตูนและการสอนปกติ ผลวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกฎแห่งกรรมและพระพุทธศาสนาสุภาษิต วิชาพระพุทธศาสนา หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยนิทานประกอบการ์ตูนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับงานวิจัยของ อติพงษ์ วัฒนะชัย (2550 : บทคัดย่อ) ได้เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิชาพระพุทธศาสนา เรื่องเบญจศีลและเบญจธรรม ระหว่างการสอนด้วยหนังสือการ์ตูนสีและการสอนปกติ ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกฎแห่งกรรมและพระพุทธศาสนสุภาษิต วิชาพระพุทธศาสนา หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยนิทานประกอบการ์ตูนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุรชัย ทรงสันติ (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยโดยการสร้างบทเรียนการ์ตูน เรื่อง วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนการ์ตูน ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนการ์ตูน เรื่อง วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยมีค่าประสิทธิภาพ 89.93/88.06 ด้านความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนการ์ตูน เรื่อง วิถีแบบประชาธิปไตย นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่ดีต่อบทเรียนการ์ตูน | |
ข้อเสนอแนะ | |
1) ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดังนั้นครูผู้สอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ได้ และควรมีการยืดหยุ่นเวลาและบูรณาการในเรื่องเนื้อหาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อนวัตกรรม ที่เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ ประเภทสื่อ 3 )เนื่องด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติม เป็นสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีประโยชน์ มีประสิทธิภาพและมีผลต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ควรให้ความสนใจในการฝึกอบรมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการพัฒนาสื่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีประสิทธิภาพ |
|
อ้างอิง | |
กรรณิกา ศรีเจริญ. วิเคราะห์คุณธรรมในหนังสือการ์ตูนเล่มละบาท. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2525.
จินตนา ใบกาซูยี. เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. การทำหนังสือสำหรับเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2527. ชม ภูมิภาค. เทคโนโลยีทางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2542. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษาหน่วยที่ 1 – 8. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544. ถวัลย์ มาศจรัส. “การ์ตูนกับการสอน.” ประชากรศึกษา. 4 (8) : 3 ; พฤษภาคม, 2525. ทองพูน บุญอึ่ง. วารสารวิชาการ. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์, 2534. บันลือ พฤกษะวัน.แนวการพัฒนาการอ่านเร็ว คิดเป็น กรุงเทพมหานคร ไทยวัฒนาพานิช ,2545. |
|
Download | abstract.pdf |